ทวนกระแส ‘รัฐอิสลาม’ ฏอลิบาน หลังยุคชาติพันธมิตรตะวันตก ถอนกำลังออกจากอัฟกันฯ

ฏอลิบาน (طالبان) เป็นกลุ่มเคลื่อนไหวในแนวทางอิสลามนิยม (Islamism) ซึ่งเคยพิชิต และกำลังกลับมาพิชิต ‘กรุงคาบูล’ (Kabul) เมืองหลวงอัฟกันฯ อีกครั้งในเร็ววันนี้ หลังจากที่ก่อนหน้า กลุ่มได้เคยตั้งรัฐบาลมาแล้วในปี 1996 ภายใต้ระบอบชื่อ ‘รัฐอิสลามอะมีรแห่งอัฟกานิสถาน’ (Islamic Emirate of Afghanistan / إمارة أفغانستان الإسلامية) สถาปนากฎหมายชะรีอะฮฺในการปกครอง กินระยะเวลาเพียงแค่ 5 ปี (1996 – 2001)

ก่อนที่ในปี 2001 เป็นต้นมา อเมริกาจะส่งกองกำลังเข้ารุกราน เพื่อหวังโค่นล้มระบอบชะรีอะฮฺ และเปลี่ยนผ่านรัฐบาลฏอลิบานไปสู่ระบอบรัฐสภาใหม่ ในนาม (รัฐบาลหุ่นเชิด) “สาธารณรัฐอิสลามอัฟกันฯ” (Islamic Republic of Afghanistan / جمهورية أفغانستان الإسلامية) ซึ่งมีสมาชิกซึ่งเป็นบรรดา “ผู้แทน” (nominee) อดีตกลุ่ม ‘พันธมิตรฝ่ายเหนือ’ (Northern Alliance) เดิม ประกอบด้วย กลุ่มชาติพันธุ์ฯ ชีอะฮฺ และเหล่าขุนศึก ที่ประเทศเสรีเคยให้การยอมรับ กลุ่มเหล่านี้เคยมีส่วนร่วมในสงครามต่อต้านโซเวียต ช่วงปี 1979 – 1989 เช่นเดียวกับบรรดามุญาฮิดีนกลุ่มต่าง ๆ ก่อนที่ภายหลังจะแตกออกเป็นกองกำลังที่ปกครองโดยมีแต่ละพื้นที่เป็นเขตอิทธิพลของตนเอง

จนกระทั่งต้นปี 2021 ที่ผ่านมา พันธมิตรชาติตะวันตก ตัดสินใจถอนกำลังออกจากอัฟกันฯ ส่งผลให้กลุ่มกองกำลังต่าง ๆ ซึ่งเคยเป็นอิสระ หรือได้รับความช่วยเหลือจากตะวันตกอยู่ก่อนหน้า ต่างดิ้นรนใน ‘การช่วงชิงทางอำนาจ’ (power struggle) รูปแบบใหม่นี้ เมื่อฏอลิบานขยายพื้นที่ยึดครอง และพิชิตเมืองต่าง ๆ ได้กว่า 80 % (June, 2021) และปิดล้อมเมืองสำคัญของฝ่ายรัฐบาล อย่าง คาบูล และ เฮรัต ทันทีที่มีการถอนทหารออกไป

ประสบการณ์เช่นนี้ คล้ายเมื่อตอนที่ ฏอลิบาน กวาดล้างกลุ่มขุนศึก (warlords) ผู้มีอิทธิพล และจัดระเบียบสังคมอัฟกันฯใหม่ ช่วงทศวรรษที่ 1990s แม้ครั้งนี้ต่างตรงที่ ฏอลิบาน เรียนรู้ที่จะปกครอง และยอมรับว่า “วิธีเจรจา-ต่อรอง” (Negotiations) มีส่วนสำคัญในการสร้างเสถียรภาพมากขึ้น ทว่า ฏอลิบาน อาจต้องเผชิญการแทรกแซง จากประเทศเสรีประชาธิปไตย ซึ่งขัดขวางการรูปแบบการปกครอง และเจตนารมย์บังคับใช้กฎหมายชะรีอะฮฺ ไม่ต่างจากยุคสมัยก่อนหน้า

ในนาม “สิทธิมนุษยชน” ของใคร?

ในยุค 1996 เป็นต้นมา ฏอลิบาน ถูกกล่าวหาอย่างน้อย 3 ประเด็นหลัก ๆ ซึ่งทำให้นานาชาตินำโดยอเมริกาไม่ยอมรับการมีอยู่ของรัฐบาลฏอลิบาน คือ

  1. ข้ออ้างละเมิดสิทธิสตรีในมุมตะวันตก
  2. ข้ออ้างให้สิทธิแก่มนุษยชน
  3. ความหวาดระแวงเรื่องภัยก่อการร้าย

บรรดามหาอำนาจนอกภูมิภาคไม่เคยยินดีต่อ รูปแบบการปกครอง/คุณค่าสังคม แบบที่ฏอลิบานยึดถือ พวกเขาใช้ข้ออ้าง “สิทธิมนุษยชน” (ในมุมมองฝ่ายเดียว) ลดทอนความชอบธรรมในการบริหารปกครองของรัฐบาลฏอลิบาน จนกระทั่งส่งกำลังทหาร (Military Solution) เข้าจัดการปัญหาในที่สุด (อเมริกา ใช้การรณรงค์ ‘คุณค่าเสรีนิยม’ บังหน้า ผลประโยชน์แห่งชาติผ่านการจัดระเบียบโลกมาโดยตลอด ดังกล่าวเพื่อคงสถานะมหาอำนาจเอาไว้ กรณีเดียวกันนี้เช่นที่เคยรุกราน อิรัก (ด้วยข้อกล่าวหาว่า รัฐบาลศอดดามครอบครองอาวุธทำลายล้างสูง ( WMD) ทว่าอเมริกาออกมายอมรับ ภายหลังจาก UN พิสูจน์ได้ว่าเป็นเพียงแค่ข้อสมมติฐานที่ไม่เป็นความจริง)

หากมองในมุมกฎหมายระหว่างประเทศ (International law) รัฐบาลฏอลิบานมีสิทธิเต็มเปี่ยมที่จะประกาศใช้กฎหมายใดก็ตามปกครองประเทศ (De jure) เพื่อรักษาความสงบภายในขอบข่าย ‘อำนาจอธิปไตย’ ของตน ตราบที่สภาพสังคมนั้นดำเนินไปด้วยความสงบเรียบร้อย (political settlement) แม้ว่าจะขัดกับอุดมการณ์โลกเสรีนิยมก็ตาม ข้อแตกต่าง คือ ฏอลิบานใช้สิทธิมนุษยชน และศีลธรรมที่มีอยู่ในระบอบชะรีอะฮฺ เป็นข้อตัดสิน

ตั้งแต่ปี 2019 เป็นต้นมา มุฮัมมัด สตานิกไซ (Mohammad Stanikzai) หนึ่งในผู้แทนเจรจาสันติฯ กองกำลังฏอลิบาน เปรยตลอดช่วงเจรจาสันติภาพ ณ กรุงโดฮา, Doha Agreement (2020) ว่า ฏอลิบาน และ คณะเจรจาฯ ต้องการ สันติภาพ เป็นเป้าหมาย หากประเทศมหาอำนาจให้การช่วยเหลือ และยอมรับสถานะการเป็น “รัฐ” (Sovereign state) โดยให้อัฟกันฯ ภายใต้รัฐบาลฏอลิบาน มีสถานะเท่าเทียมกับประเทศอื่นๆบนเวทีโลก ที่ว่า ‘ให้ยอมรับ’ (State recognition) นั้น ย่อมหมายความตรงกันข้ามกับ ‘การแทรกแซง’ (Intervention)

อุปสรรคสันติภาพ

แม้ทั้งสองฝ่ายหวังเห็นสงครามยุติโดยเร็ว ทว่าบริเวณน้อยกว่า 10 – 20 % ที่เหลืออยู่ (July, 2021) ของประเทศ ยังคงมีการยิงตอบโต้จากฝ่ายรัฐบาล นำโดยเหล่าขุนศึก, กลุ่มชีอะฮฺ, กองกำลังชนเผ่า ไปพร้อม ๆ กับการเจรจา โดยที่ฝ่ายฏอลิบานประกาศเรียกร้องให้รัฐบาลอัฟกันฯ ภายใต้ ปธน. อัชรอฟ กานี (Ashraf Ghani) ยุติความขัดแย้งเพื่อเดินหน้าสู่โต๊ะเจรจาสันติภาพ (peace dialogue table)

ทว่ารัฐบาลอัฟกันยังคงยืนกรานพูดคุยสลับกับการปะทะอยู่เป็นระยะ นี้จึงมองดูว่าเป็นแค่เพียงการถ่วงเวลาไว้ไม่ให้ฏอลิบานรุกคืบ (ไม่นานนี้ อัชรอฟ กล่าวว่าเขาเตรียมการที่จะอยู่ในรัฐบาลต่อไปอีก 6 เดือนข้างหน้า พร้อมเปรยว่ามีแผนความมั่นคงที่จะยุติสงครามกลางเมืองลง – Aug, 2021)

สาเหตุที่รัฐบาลอัฟกันฯ ในเวลานี้ต้องการอยู่ในวาระให้ได้นานที่สุด อาจเป็นเพราะต้องการยืดแผนอพยพเจ้าหน้าที่ลี้ภัยออกนอกประเทศ หรือ อาจยื้อเวลาพูดคุยในข้อตกลงขยายความคุ้มครองจากอเมริกา เพราะโครงสร้างอำนาจเดิมของรัฐบาลถูกออกแบบมาเพื่อเป็นหุ่นเชิดให้กับชาติตะวันตก และมีสถานะช่วยรักษาการ (maintain) มากกว่าเป็นผู้พัฒนาประเทศ

ตลอดเวลาที่เจ้าอาณานิคมใหม่เข้ามาตั้งฐานทัพ ได้มีการส่งกองกำลังออกลาดตระเวนในนาม ‘รักษาสันติภาพ’ แม้ข้อเท็จจริงจะเป็นเพียงข้ออ้างปราบปรามกลุ่มฏอลิบาน แต่ผลลัพธ์ที่ได้มากลับเป็นสิ่งตรงข้าม เนื่องจากมีการสังหารพลเรือนในลักษณะเหวี่ยงแห โดยอากาศยานไร้คนขับ หลายๆ กรณีเกิดขึ้นเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน

ปฏิบัติการ “Either Kill or Capture” ลักษณะดังกล่าว ยิ่งสร้างแนวร่วมฏอลิบานเกิดขึ้นทั่วภูมิภาค เพราะเป็นการผลักให้ประชาชนต้องสู้กลับโดยทางอ้อม จากกรณีที่มีการปิดล้อมหมู่บ้านเพื่อค้นหาผู้ต้องสงสัย หรือการใช้วิธีซ้อมทรมาณระหว่างขั้นตอนสอบสวน ขณะที่ในมิติทางเศรษฐกิจ ชาวอัฟกันฯจำนวนมากสูญเสียความมั่นใจในรัฐบาล เนื่องจากไม่สามารถแก้ปัญหาการคอรัปชั่นในนักการเมืองที่มีอัตราทุจริตสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก

ท่ามกลางการยิงตอบโต้ทั้งสองฝ่าย กองกำลังรัฐบาลส่วนหนึ่งยอมทิ้งอาวุธ หันไปแปรพักตร์เป็นหนึ่งเดียวกับฏอลีบาน กระนั้นฝ่ายกองกำลังอัฟกันฯ ที่เคยได้รับแรงสนับสนุนจากอเมริกา และชาติ NATO (อาทิ บริติช, ตุรกี) ยังคงถูกทิ้งไว้เป็นตัวขวางการยึดครอง และปกป้องผลประโยชน์แก่รัฐบาลชุดปัจจุบันอยู่ ขณะที่ผู้ให้การคุ้มครอง เช่น กองกำลังอังกฤษก็ได้ถอนกำลังออกไปแล้วก่อนหน้า เช่นเดียวกับ อเมริกา ที่กำลังทยอยออกภายในปีนี้ (Sep, 2021) กระนั้นก็ตามช่วงเวลานี้ ยังคงมีการปฏิบัติการโจมตีทางอากาศ (Air Strikes) คอยสนับสนุนรัฐบาลอัฟกันฯ ภาคพื้นดินอยู่เป็นระยะ

กอปรกับ ช่องว่าง ‘สุญญากาศทางการเมือง’ (political vacuum) ที่เกิดขึ้นท่ามกลางความไม่สงบ ที่อาจเอื้อให้กองกำลังอย่าง ISIS Khorasan (วิลายะฮฺ คูรอซาน) หรือ กลุ่มญิฮาดิสท์อื่น ๆ ซึ่งต่อสู้เพื่อเป้าหมายเพื่อปลดปล่อย เตอร์กิสถานตะวันออก (East Turkestan) มีเวลาได้ฟื้นฟูตัวเอง และอาจขึ้นมาแทนกองกำลังอื่นที่สลายไปในเขตอิทธิพลของตน

ด้วยเหตุนี้มหาอำนาจที่มีพรมแดนติดกับอัฟกันฯ เช่น จีน และอิหร่าน ซึ่งเฝ้าจับตาสถานการณ์อยู่ จึงมีความกังวลว่าการถอนทหารออกจากอัฟกันฯ โดยอเมริกา และชาติพันธมิตร จะเป็นการเอื้อให้กลุ่มกองกำลังต่าง ๆ ที่อยู่ชิดติดพรมแดนของตน ยกระดับกลายมาเป็น “ภัยคุกคาม” จีนและอิหร่าน จึงยอมเข้าหา กองกำลังที่เข้มแข็งที่สุดในเวลานี้ คือ ฏอลิบาน การเจรจากับฏอลิบาน ในขณะที่รัฐบาลอัฟกันฯ ยังคง อยู่ในตำแหน่ง (Incumbent) แต่ไม่สามารถบริหารประเทศได้แล้ว จึงดูเป็นการเร่งรีบ (มีนัยยะว่า ฏอลิบานจะจัดตั้งรัฐบาลได้สำเร็จ) เพื่อเป็นการสร้างข้อตกลง (agreement) ไว้แต่เนิ่น ๆ

มองอนาคตรัฐฏอลิบานผ่านความฝันมุสลิม

ข้อครหาที่มักเกิดขึ้นบ่อยกับชาติมุสลิมที่ยึดมั่นในชะรีอะฮฺ มักเป็นทำนองว่า การที่ ฏอลิบานหันไป “เจรจา” กับจีน เพียงแค่จะโยงว่า ฏอลิบาน ไม่ “จริงใจ” (sincere) เพราะถ้าถือประโยชน์ต่อ ‘อุมมะฮฺ’ เป็นสำคัญ ต้องร่วมมือ จับกลุ่มกันเป็นพันธมิตร (alliance) กับชาติมุสลิมด้วยกันก่อน ไม่ว่าจะเป็น ตุรกี สาอุ เพื่อช่วยกันต้านมหาอำนาจ จึงจะดูเป็นอุดมคติเสียกว่า ?

คิดแบบนี้ สะท้อน ‘ความฝัน’ และไม่มองความจริงที่ว่า “โลกมุสลิม” หลังคิลาฟะฮฺสุดท้ายล่มสลาย ต่างไม่เคยเป็นอันหนึ่งอันเดียวมาโดยตลอด (Scope แค่ภายหลังยุคอาณานิคมในศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา) เหตุปัจจัยหนึ่งเป็นเพราะ แต่ละชนชาติ ถูกเจ้าอาณานิคมหั่น/แบ่ง ให้ ‘แตกแยก แล้ว แทรกแซง’ ก่อนให้เอกราช

รัฐหลังยุคอาณานิคม จึงไม่มีประเทศใดยอมให้ต่างชาติเข้ามาตัังฐานทัพได้อย่างอิสระ เพราะถือเป็นการละเมิดอธิปไตยอย่างร้ายแรง ในการมีอยู่ของรัฐนั้น ๆ

เช่นนี้จึงสรุปได้คร่าว ๆ ว่า แต่ละประเทศต่างถือ ‘ผลประโยชน์สูงสุด’ ของชาติแตกต่างกัน จึงย่อมคำนึงถึง การออกนโยบายที่ไม่จำเป็นต้องเหมือนกันด้วย (และบางทีก็ขัดผลประโยชน์กัน) เพราะไม่จำเป็นต้อง คิดบนฐาน “อุมมะฮฺ” ร่วมกันแต่แรก (แต่ละรัฐเอาตัวรอดในสภาพที่แข่งขันกันทางอำนาจ-ทั้งผูกมิตร และเป็นศัตรูกัน ไม่ถาวร)

หากมอง เงื่อนไข “รัฐชาติ” ในยุคซึ่งไร้ผู้นำคนเดียว แบบที่อุมมะฮฺนี้ยอมรับ (บัยอะฮฺ) โดยพร้อมเพรียง แต่ไร้สภาพสังคมศาสนา-การเมือง ที่รวมเอา ชนชาติมุสลิมไว้อยู่ด้วยกัน และมี “ผลประโยชน์เดียวกัน” อาจเกิดขึ้นได้ยาก

เนื่องจากทุก ๆ ประเทศมุสลิม ต่างก็แสดงบทบาท ขยับตัวอยู่ใต้เงื่อนไข “ระดับภูมิภาค” เพียงเท่านั้น เว้นเสียแต่ ประเทศซึ่งมี ‘อำนาจนำ’ (regional power) ของภูมิภาค จะเข้าไปแทรกแซง-เจรจา ก็เพียงเพื่อใช้ประโยชน์ จากประเทศนั้น ๆ ตอบสนอง ‘ดุลแห่งอำนาจ’ (balance of power) ภายในภูมิภาคอีกทางหนึ่ง

คิดบนฐานนี้ ฏอลิบาน จึงเป็นอิสระ และปลอดพ้นจากการพึ่งพานโยบายชาติอื่นมาคอยควบคุม แตกต่างจากการแทรกแซงที่เกิดขึ้นกับรัฐบาลอัฟกัน

ความคิดที่มีปัญหา คือ การคาดหวังว่า ฏอลิบานจะต้องไม่เจรจา ไม่ยอมอ่อนข้อ หรือไม่ปฏิสัมพันธ์ กับชาติกาฟิรใด ๆ เลย เพื่อรักษาจุดยืน? ดังกล่าวนี้ ย้ำทวนอีกครั้งว่า เป็นความ “เพ้อฝัน” ภายใต้เงื่อนไขที่ได้กล่าวมาแล้ว อาจมีรัฐเดียว ในยุคร่วมสมัยที่โดดเดี่ยวตนเอง ไม่ยอมเจรจากับผู้ใดเลย ดำเนินนโยบายเป็นศัตรูกับทุกฝ่าย แต่ล่มสลายไปก่อนหน้า คือ “ดาอิช” (ISIS) เพราะมีศัตรูรอบด้าน ไม่เว้นแม้แต่ประเทศมุสลิมด้วยกัน

ฐานคิดไร้สัญชาติ ไร้รัฐ แบบยุคคีลาฟะฮฺจึงจะอยู่รอดสำหรับ อุมมะฮฺ ได้นั้น ต้องอาศัยการมีผู้นำที่ประชาชาติยอมรับ-ให้บัยอะฮฺ (Pledge of allegiance) การสลายความแตกแยกด้วยความเชื่อที่ถูกต้อง เพียงหนึ่งเดียว (บนแนวทางสะลัฟ) หรือการมีผู้นำเพียงคนเดียวที่ประชาชาติมุสลิมยอมรับ จึงเป็นพรมแดนเรื่องของความเชื่อ (อะกีดะฮฺ) ที่กำลังจะมาถึง ตามคำสัญญาที่ปรากฎในตัวบท

ฉะนั้น การตัดสินไปล่วงหน้า โดยผิวเผินแล้วว่า หากปฏิสัมพันธ์ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ-ความมั่นคง โดยประเทศมุสลิม ที่มีต่อประเทศกาฟิรในเวลาอ่อนแอเช่นนี้ จึงทำให้ประเทศนั้นไร้ความชอบธรรม ดังกล่าวนี้ ถือเป็นความสุดโต่ง และไม่เข้าใจ ว่ากลไกเจรจาใดๆ ล้วนต้องวางอยู่บน ‘การต่อรอง’ ให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ที่สมน้ำสมเนื้อทั้งคู่ ดังนั้นการเป็น “มิตรแท้” กับประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงไม่เอื้อสำหรับรัฐที่หาทางรอดให้แก่ประเทศ-คนในชาติตนเอง เป็นสำคัญมาก่อน

ตัวอย่างในเรื่องนี้เกิดขึ้นเช่นเดียวกันกับ ประเทศสาอุฯ ทั้งนี้เพราะ นโยบายการทูต ของสาอุฯ วางอยู่บนจุดตัดที่ว่า “ศัตรูของศัตรู คือมิตรของเรา” ตลอดการออกแบบนโยบาย (policy making) ซึ่งรวมเอาศูนย์กลางการตัดสินใจ อยู่ที่ประเด็นถ่วงดุลเชิงอำนาจทหาร-ความมั่นคง แต่ละฝ่ายที่มีอยู่ เพื่อใช้ต่อรองกับรัฐชีอะฮฺอิหร่าน

สาอุฯ ภายในเอง มีนโยบายแข็งกร้าวกับการปรามปรามผู้ชุมนุมประท้วงชาวชีอะฮฺ ในภาคตะวันออกของประเทศ (Amawiyah protest) ที่น่าสนใจกว่านั้น คือกลุ่มองค์กรที่ไม่ใช่รัฐ และเป็นกลุ่มสุนนี (Sunni) เหมือนกัน อย่างฮะมาส และกลุ่มนิยมประชาธิปไตย กลับวางแก่นกลาง ของผลประโยชน์ (Core Interests) อยู่บนการผูกมิตรกับชีอะฮฺอิหร่าน แต่เป็นศัตรูกับอิสราเอล-อเมริกา-และสาอุฯ แทน

เช่นเดียวกันกับ ตุรกี และกาตาร์ ซึ่งวางผลประโยชน์อยู่บนการสนับสนุนกลุ่มการเมืองอิควาน (Muslim Brotherhood) เพื่อถ่วงดุลอำนาจกับสาอุฯ ภายหลังจาก ยุคสมัยที่สาอุฯ เปลี่ยนนโยบายสนับสนุนทางอาวุธให้แก่ปาเลสไตน์ มาเป็นการเน้นเจรจาสันติภาพกับอิสราเอลแทน นี้จึงเป็นช่วงเวลาสุญญากาศ ที่เปิดช่องให้อิสลามการเมืองแบบตุรกี อิหร่าน และกาตาร์ เข้ามามีบทบาทสำคัญ ในการใช้โลกสุนนี ต่อต้านอิทธิพลกลุ่มประเทศอ่าว (Gulf countries) ซึ่งมีความจำเป็นต้องพึ่งพิงความคุ้มครองจากชาติตะวันตก (Lesser Evil – ทางเลือกที่เลวร้ายน้อยกว่า) แทนการเลือกคบหากับแนวร่วมชีอะฮฺเป็นมิตร

ตราบใดที่ อุมมะฮฺ ยังมีสภาพอ่อนแอ การหวังรับรองให้ชาติใด ๆ เป็นที่พึ่งพิงสำหรับทั้งประชาชาติ อาจดูเป็นการตั้งความหวังเอาไว้สูง กว่าความเป็นจริง เช่นนั้นแล้ว ที่ทำได้ปัจจุบันนี้ตามคำสัญญาที่มีมาในตัวบท อาจต้องสนใจไปยังเรื่องที่มีการ สั่งใช้/ให้สิทธิ เป็นไปตามขอบเขต ที่ศาสนาสั่งใช้แก่ตนก่อนคาดหวัง ความสำเร็จจากผู้นำมุสลิม และหากต้องสนับสนุนบรรดาผู้นำมุสลิม ก็ต้องเลือกสนับสนุนในสิ่งที่เป็นความดีงาม ตามความเข้าใจในแบบสะลัฟได้วางรากฐานเอาไว้ หลีกห่างจากแนวทาง สร้างความเสียหายมากกว่าในแบบคอวาริจญ์-ชีอะฮฺ และความชั่วเรื่องการโค่นล้มผู้นำ หรือ ญิฮาดโดยปราศจากเงื่อนไขที่สมบูรณ์

พึงรู้เถิดว่า ปัญหาโลกมุสลิม ไม่เป็นภาระแก่เอาวามชน และความบกพร่องในตัวผู้นำมุสลิม ก็ไม่พ้นความอ่อนแอที่เกิดสะสม มาจากมุสลิมละทิ้งหลักการ

นะศีฮะฮฺอุมมะฮฺ ด้วยอัตเตาฮีด

การจะได้มาซึ่ง ‘รัฐอิสลาม’ อันบริสุทธิ์ (บนปัจจัยที่โลกสมัยใหม่ มุสลิมถูกลดทอนให้สังกัดอยู่แค่ภายใต้ บัตรประชาชน/พาสต์ปอร์ต) ย่อมหนีไม่พ้นว่า ต้องมีใครสักคนได้รับการยอมรับ (บัยอะฮฺ) หรือมีบรรดาผู้ให้การยอมรับ เป็นแนวแถวเดียวกัน (ในทางความคิด-แนวทาง) เช่น ที่เคยเกิดขึ้น ทวนกระแสโลกในอิทธิพลการฟื้นฟูของ ขวนการอิมามอับดุลวะฮาบ-กษัตรย์ สะอูด (Wahhabism)

อุดมคติ ที่เคยเกิดขึ้นจริงนี้ เป็นเรื่องเดียวกันกับ การแสวงหา “วิธีการ” ที่บรรดากิบารอุลามาอฺ ให้ข้อเสนอแก่อุมมะฮฺในยุคอ่อนแอ กล่าวคือ ขบวนการฟื้นฟูศาสนาที่ประสบความสำเร็จ ล้วนแต่มีอิสลามเป็นตัวกำกับ ไม่มีการเริ่มต้นด้วยประชาธิปไตย หรือระบอบอื่นใด จะให้ผลลัพท์เป็นระบอบอิสลามในบั้นปลาย

ปฏิเสธไม่ได้ว่า ปัจจุบันบรรดาชาติมุสลิมอ่อนกำลัง และเสมือนกึ่งเป็นอาณานิคมตะวันตก เพราะแต่ละรัฐต่างถือ “กฎหมาย” เป็นของตัวเองบนฐานรัฐชาติสมัยใหม่ และนั้น ก็นำมาซึ่งความไม่เป็นเอกภาพในการต่อสู้ ต่างคนต่างถือ ‘อำนาจอธิปไตย’ (sovereignty) ของรัฐตนเองเป็นที่กลับ เพราะไม่มีผลประโยชน์ร่วมกันให้ปกป้อง

ต่างจากชาติตะวันตกที่ยกประชาธิปไตย เป็นผลประโยชน์ร่วม (mutual interests) ในการส่งออก “สันติภาพ” แก่ประเทศที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ผลที่ได้คือ สงครามกลางเมือง (regime change) เช่น ในอิรัก และอัฟกันฯ (เหตุผลเดียวกันนี้ เอื้อให้ชาติตะวันตกรวมกลุ่มกันรุกรานชาติมุสลิมโดยง่าย พวกกุฟฟารรวมกันใต้ธงประชาธิปไตย เป็นกองทัพเดียวกันได้ ในนาม “พันธมิตรร่วมรบ” (coalition forces) ตอนที่บุกยึดครองอิรักโดยพวกครูเสดยุคใหม่ ในสมัยรัฐบาล จอร์จ บุช)

หากมุสลิมจะรวมตัวกันได้ ก็ไม่มีสิ่งใดมาประสานพวกเราไว้ได้ เว้นแต่ ‘อัลกุรอาน’ และเข้าใจอัลกุรอานด้วยความเชื่อเดียวกัน เป็นผลประโยชน์ร่วมกันของประชาชาติ นี้จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่บรรดามุสลิมต้องศึกษา-เรียนรู้ ‘มันฮัจญ์สะลัฟ’ เพราะผลลัพท์ในเรื่องนี้คือ มีอะกีดะฮฺ (ความเชื่อ) เดียวไม่แตกแยกกัน

หากว่าการตัรบียะฮฺมิได้วางหลักอยู่บนเตาฮีด–อะกีดะฮฺ เป็นสาระสำคัญ ผลที่ได้ก็จะยังไม่มีผู้นำ-ผู้ฟื้นฟูที่สมบูรณ์เช่นนั้นปรากฏ เพราะผู้คนก็จะยังคงแตกแยกกันในทางความเชื่อ เข้าใจ “กฎหมาย” กันเองโดยพลการ

หากพินิจดูว่า สุดทิศตะวันออก จรดทิศตะวันตก สภาพมุสลิม อยู่กันอย่างไร?
และมุสลิมต่างเข้าใจ กฎหมายของอัลลอฮฺ เช่นไร?

พวกเราล้วน “ไม่เหมือนกัน” และ “หลากหลาย/พหุฯ” ด้วยกับการเป็นพลเมืองในรัฐชาติสมัยใหม่ซึ่งสลาย “ความเป็นพลเมือง” ที่เคยผูกโยงมุสลิมแต่ละคน กับการมีระบอบคอลีฟะฮฺไว้ (สายสัมพันธ์เช่นนี้ เคยปรากฏเมื่อ มุสลิมส่วนใดของโลกถูกรุกราน พันธะของคอลีฟะฮฺย่อมถือว่า ดินแดนนั้นอยู่ใต้ความคุ้มครอง-และถือเป็นการรุกรานคอลีฟะฮฺด้วย – วิธีนี้เป็นเรื่องเดียวกันกับที่ชาติตะวันตกหยิบเอาจากอิสลามไปใช้ ร่างกฎระเบียบ “สมาชิกชาติพันธมิตร NATO” ที่ถือว่า การรุกรานประเทศสมาชิกหนึ่ง เท่ากับเป็นการรุกรานชาติสมาชิกอื่น ๆ ด้วย)
.
การไร้ซึ่งระบอบที่คุ้มครองมุสลิมในสภาวะเช่นนี้ และการที่มุสลิมต้องอยู่ใต้รัฐที่แยกศาสนาออกจากการปกครอง หรือรัฐกุฟฟารชนนี้เอง ทำให้มุสลิมในแต่ละมุมโลกถูกโดดเดี่ยว และถูกปล่อยทิ้งไว้ให้เผชิญการรุมกินโต๊ะไว้ตามลำพัง (ดู อุยกูร์, โรฮิงญา) การจะมีระบบปกครองที่ดี จึงหนีไม่พ้นการมีประชาชนที่ดีเสียก่อน เหตุนี้จึงเข้าใจโดยปริยายว่า การฟื้นฟูวาระแห่งประชาชาติอิสลามในเวลานี้ คือ การกลับมาศึกษาศาสนาตามแนวทางสะลัฟ ลดละบาปอย่างสุดความสามารถ ในลักษณะปัจเจกก่อนฝันถึงการมีคีลาฟะฮฺ

เพราะศัตรูอิสลามกระทำแบบเดียวกันมาก่อน พวกเขาศึกษาอิสลาม และถอดเงื่อนไขต่าง ๆ ที่เป็นเหตุแห่งการล่มสลายของประชาชาติอิสลาม มาก่อน (ผ่านการขีดแบ่งเส้นพรมแดนใหม่ในยุคอาณานิคม) ชาติตะวันตกรู้ดีว่า ประชาชาติอิสลามจะเข้มแข็งได้ ก็เมื่อมีคอลีฟะฮฺ (ที่มุสลิมทั่วโลกยอมรับ) ด้วยเหตุนี้กุฟฟาร มุชริก จึงไม่ยอมให้เกิดขึ้น แม้แต่ประเทศมุสลิมใดก็ตาม มีความเข้มแข็งมากพอ หรือมองดูแล้วเป็น ‘ภัยคุกคาม’ ท้าทายดุลแห่งอำนาจ ที่พวกเขาได้จัดแจงเอาไว้

ความแตกแยก เห็นต่างในการเข้าใจ ‘ทางกลับ’ (มันฮัจญ์) ของเหล่าบรรพชน ที่มีอยู่อย่างไม่เป็นเอกภาพ จึงเป็นตัวการบั้นทอนแนวทางการฟื้นฟู ความเข้มแข็งของประชาชาติ

อีกทั้งมุสลิมในโลกใหม่ ถูกดึงให้ออกจากการหาความรู้ ความรักในการศึกษาอัลกุรอาน ศึกษาสุนนะฮฺ ทีละคืบศอก เช่นนี้แล้ว เยาวชนมุสลิมโดยมากจึงละทิ้งแนวทางฟื้นฟูอิสลามด้วยกับอิสลามเอง

พวกเขาหันไปสนับสนุน แนวคิดประชาธิปไตย หรือ รับใช้ ‘ค่านิยม’ กุฟฟารจนเคยชิน นี้จึงเป็นเรื่องไกลตัวอย่างมาก หากจะกระโดดข้ามไปเปลี่ยนแปลงสังคม หักด้ามพร้าด้วยวิธีจับอาวุธ ในสภาพที่มุสลิมทั่วโลกยังคงหลับใหลกันอยู่ แน่นอนไม่เพียงแต่จะถูกโดดเดี่ยวไร้การสนับสนุน ทว่าย่อมสร้างความเสียหายตามมาแก่ผู้กระทำเสียมากกว่า ดังที่มีบทเรียนจากสงครามที่ยังคงเกิดขึ้นกับบรรดาเด็ก สตรี มุสลิมถูกเข่นฆ่า นับร้อยนับพันชีวิต ก็ไม่เท่ากันกับ เยาวชนกุฟฟารถูกรังแก (bully) แค่เพียงคนเดียว

พึงรู้เถิดว่า เกียรติที่มีอยู่ในประชาชาติยุคก่อน ๆ มีอยู่ด้วยกับการยึดมั่นในศาสนาดังนั้นแล้วจงกระตือรือร้นที่จะมีเกียรติ และตื่นขึ้นด้วยกับการศึกษาอิสลาม เข้าหา ขั้นตอน-วิธีการ ที่บรรดาปราชญ์ได้แนะนำความสำเร็จเอาไว้

เราขอต่ออัลลอฮฺ ﷻ ทรงประทานชัยชนะแก่เหล่ามุญาฮิดีน อัลมุวะฮิดีนในอัฟกัน และทั่วทุกมุมโลก ให้มั่นคงในศาสนาของพระองค์ ขอให้พวกเขามีความยุติธรรม และต่อสู้เพื่อชูดำรัสของพระองค์ให้สูงส่งโดยแท้จริง

“ดุอาอฺ เป็นอาวุธ” วะศิยัตอิมามอัชชุอัยบี

หลายครั้ง เมื่อตอน อัลลามะฮฺ ฮะมูด อุกละฮฺ อัชชุอัยบี มีชีวิตอยู่ ลูกศิษฐ์ของท่านเล่าว่า “ท่านเชคเคยใช้เวลาส่วนมากในแต่ละค่ำคืน หมดไปกับการขอดุอาอฺให้กับมุญาฮิดีนในอัฟกัน….ช่วงท้ายชีวิตของเชค (ขออัลลออฺเมตตา และอภัยท่าน) คือ ตอนที่ท่านกระตือรือร้นอย่างมากในการขอดุอาอฺ และเขียนจดหมายไปหาผู้นำฏอลิบาน เรื่องเหล่านี้ถูกเล่าอย่างแพร่หลายในวงศิษฐ์ของท่าน

และเมื่อใดก็ตามที่ เชคได้ทราบข่าวดี (ชัยชนะ) ท่านก็จะร่ำไห้ด้วยความปิติยินดียิ่ง แต่หากเมื่อใด ที่มีข่าวร้ายมาถึงหูท่าน ท่านก็จะร้องไห้ออกมาอย่างเศร้าโศก และหากท่านรู้ว่าคนหนึ่งคนใดได้ดูแคลนมุญาฮิดีน ท่านจะโกรธเคืองอย่างถึงที่สุด
ลูกศิษฐ์ของเชค (คือ บรรดาอาลิม อุลามาอฺในยุคร่วมสมัย) จะรู้ได้เลยทันทีว่าสถานการณ์ในอัฟกันเป็นเช่นไร”


โอ้บรรดามุสลิม พวกท่านพึงขอดุอาอฺต่อผู้นำมุสลิม ให้มั่นคงในระบอบชะรีอะฮฺ และขอพระองค์ปรับเปลี่ยนพวกเขาให้อยู่บนความดีงาม
หากว่ามุสลิมเต็มไปด้วยบาปแล้วระบอบคอลีฟะฮฺที่สัญญาไว้ จะเป็นของพวกเราได้เมื่อใด?
เราขอดุอาอฺ ต่ออัลลอฮฺ ขอพระองค์ทรงประทานชัยชนะลงมาด้วยกับการยึดมั่นบนศาสนาของพระองค์
และเราขอต่อพระองค์ให้ชัยชนะนั้น มีพวกเราเป็นหนึ่งในผู้ร่วมสานต่อ
และโปรดให้พวกเรานั้นได้ใกล้ชิด เป็นที่รักยิ่ง และเป็นพลพรรคที่ได้รับความช่วยเหลือ ณ ที่พระองค์ด้วยเถิด